นายก-ครม. พร้อมแจงร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 65 ถือเป็นโอกาสดีที่รัฐบาลจะสร้างการรับรู้ และสร้างความเข้าใจ

นายก-ครม. พร้อมแจงร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 65 ถือเป็นโอกาสดีที่รัฐบาลจะสร้างการรับรู้ และสร้างความเข้าใจ

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมชี้แจ้งรายละเอียดถึงการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2565 ในวาระที่ 1 ในช่วงวันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2564 นี้

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้กำชับคณะรัฐมนตรีในการประชุมครม.ครั้งที่ผ่านมาเมื่อต้นสัปดาห์นี้ว่า 

การประชุมสภาฯในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการชี้แจงให้ ส.ส.ทราบถึงพรบ.งบประมาณฯในรายละเอียดแล้ว ยังถือเป็นโอกาสดีที่รัฐบาลจะสร้างการรับรู้ และสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน เพื่อได้รับทราบถึงการจัดทำงบประมาณในครั้งนี้ด้วย และย้ำให้รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงเข้าร่วมประชุมสภาฯ เพื่อชี้แจงข้อสงสัยของ ส.ส. และสื่อสารให้ประชาชนได้รับทราบไปในคราวเดียวกัน

สำหรับวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 3.1 ล้านล้านบาท ประกอบด้วยรายจ่ายประจำ จำนวน 2,360,543 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 76.15 ของวงเงินงบประมาณ สำหรับรายจ่ายลงทุนมีจำนวนทั้งสิ้น 624,399.9 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.14 ของวงเงินงบประมาณ ซึ่งน้อยกว่าวงเงินส่วนที่ขาดดุลที่มีจำนวน 7 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตาม การที่งบประมาณรายจ่ายลงทุนมีจำนวนน้อยกว่าวงเงินส่วนที่ขาดดุลของงบประมาณประจำปี ไม่เป็นปัญหาในการจัดงบประมาณในครั้งนี้แต่อย่างใด เนื่องจากรัฐบาลสามารถเพิ่มแหล่งเงินลงทุนของประเทศในช่องทางอื่นนอกเหนือจากงบประมาณรายจ่าย ซึ่งประกอบด้วย

1. การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public Private Partnership: PPP) ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คาดว่าจะมีโครงการตามแผนการจัดทำโครงการร่วมลงทุนในปี 2565 รวม 52,320.63 ล้านบาท

2. กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (Thailand Future Fund) ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประมาณการแผนการใช้จ่ายกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 9,983.98 ล้านบาท

3. การใช้เงินกู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งสิ้น 109 รายการ วงเงินรวม 91,705.5119 ล้านบาท ซึ่งสำนักงบประมาณพิจารณาแล้วว่าเป็นรายการลงทุนที่มีความพร้อมในการดำเนินการ ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมและสามารถใช้จ่ายจากเงินกู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้

นอกจากนี้ หากจำแนกงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ จะเห็นได้ว่ารัฐบาลให้ความสำคัญด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ที่มีสัดส่วนสูงสุดที่ร้อยละ 23.67 ตามด้วยยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลย์และพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ที่มีสัดส่วนร้อยละ 18.05 และด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ที่มีสัดส่วนร้อยละ 17.68

‘ประยุทธ์’ เดินทางถึงสภาฯ เตรียม ประชุมสภา หารือ พ.ร.บ.งบประมาณ 65

สำนักข่าว ไทยรัฐ ได้รายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เดินทางถึงทำเนียบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อเตรียมเข้าร่วมการประชุมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2565 ในวาระรับหลักการ ด้วยสีหน้าปกติ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีปฏิเสธที่จะตอบคำถามใดๆ

โดยผู้สื่อข่าวในพื้นที่ข่าวถามว่าพร้อมในการชี้แจงหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ พยักหน้า พร้อมกล่าวสั้นๆ ว่า “พร้อม” ก่อนจะขึ้นห้องรับรองไปทันที ตามกำหนดการระบุว่า การประชุมเรื่องด่วนวาระการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ 2565 จะเริ่มขึ้นในเวลา 09.30 น.

เมื่อการจัดสรรงบประมาณไม่สะท้อนปัญหาของประเทศส่งผลให้การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไปไม่ถึงไหน แต่กลับไม่สามารถใช้กลไกของงบประมาณในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับคืนมาได้ การอัดฉีดเม็ดเงินลงแต่ละครั้งไม่ว่าจะเงิน SMEs ล้วนแต่เป็นเงินที่ไม่ถึงคนโดยส่วนรวม และหลายครั้งมีเงื่อนไขมากมาย จน SMEs หลายแห่งต้องล้มหายตายจากเนื่องจากไม่สามารถเข้าถึงเงินทุน อีกทั้งปัญหาว่างงานในระบบประกันสังคมที่สูงขึ้น

นายประเสริฐ กล่าวต่อว่า 2. การไร้ประสิทธิภาพในการใช้เงินงบประมาณ ตลอดระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ใช้วงเงินงบประมาณในการบริหารราชการแผ่นดินทั้งสิ้น 20.8 ล้านล้านบาทและกำลังจะใช้ในปี 65 อีก 3.1 ล้านล้านบาทแต่ไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจโตได้ โดยมีอัตราการเจริญเติบโตแค่ 1% เหมือนครั้งที่ให้ใช้เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาเศรษฐกิจติดลบถึง 2.6 % ส่งผลให้หนี้ครัวเรือนพุ่งสูง 9.2%

3. มีการตัดงบประมาณที่สำคัญหลายจุด แต่งบกระทรวงกลาโหมกลับเพิ่มขึ้น จะเห็นได้ว่างบกระทรวงสาธารณสุขลดลงมากถึง 4.3 พันล้านบาท คิดเป็นติดลบ 2.74% ถือเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 12 ปี ซึ่งส่งผลกระทบต่อการลดงบด้านสุขภาพคนไทยลดลงถ้วนหน้าจนไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโควิด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคล้วนแต่ถูกตัดงบประมาณ เช่น กรมควบคุมโรคติดต่อถูกตัดงบประมาณ 480 ล้านบาท เทียบกับปีที่แล้วลดลง 12% กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ถูกตัดงบมากถึง 10% เหลืองบน้อยที่สุดในรอบ 6 ปี สถาบันวัคซีนแห่งชาติได้งบประมาณเพียง 22 ล้านบาท

แนะนำ : รีวิวหนังไทย | คู่มือพ่อแม่มือใหม่ | แม่และเด็ก | เรื่องผี | แคคตัส กระบองเพชร